วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่12

วันที่23 มกราคม พ.ศ.2557 (สัปดาห์ที่12)
บันทึกจากการเรียน
 - เพื่อนนำเสนองานเรื่องเด็ก Austitim

เด็ก Austitim
 โรคออทิสติกอยู่ในกลุ่มพีดีดี (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ซึ่งแสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการทางด้านทางสังคมและภาษาบกพร่อง ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดไปจากปกติ

อาการของเด็กในกลุ่มโรคออทิสติก
เมื่อพบว่าเด็กมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพราะเด็กเหล่านี้ มีปัญหาสำคัญ 3 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านสังคม
มีความบกพร่องในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social disturbance) ซึ่งถือเป็นความบกพร่องที่รุนแรงที่สุดของกลุ่มโรคออทิสติก ซึ่งเด็กอยู่ในภาวะที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าร่วมกับความบกพร่องด้านสังคม โดยมีพฤติกรรม ความสนใจ หรือทำกิจกรรมที่ซ้ำๆ เช่น เด็กไม่มองหน้า  ไม่มีภาษาท่าทางในการสื่อสาร ไม่เข้าหาพ่อแม่เพื่อชวนเล่น หรืออวดของเล่นไม่เข้ามาแสดงความรักกับพ่อแม่ เช่น การกอด
2. พัฒนาการทางด้านภาษา
มีความผิดปกติด้านภาษาและการสื่อสารเด็กกลุ่มโรคนี้มีความบกพร่องของระดับเชาวน์ปัญญา โดยความสามารถด้านภาษาจะบกพร่องมากกว่าความสามารถด้านการกระทำหรือการเคลื่อนไหว ปฏิเสธหรือตอบรับด้วยการพยักหน้าหรือส่ายหน้าไม่เป็น ส่งเสียงไม่เป็นภาษา เล่นซ้ำๆ เล่นสมมติไม่เป็น หรือเล่นตามจินตนาการไม่ได้ ไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
3. พัฒนาการทางด้านพฤติกรรม
ไม่แสดงท่าทางเลียนแบบ สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ เช่น เล่นแต่ล้อรถ ใบพัด พัดลม เครื่องซักผ้า ติดวัตถุบางประเภท เอาของมาเรียงเป็นแถว ชอบของหมุนๆ มีท่าทางหรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น สะบัดมือ เล่นมือ หมุนตัว เขย่งเท้า โยกตัว โขกศีรษะ ทำร้ายร่างกายตัวเอง ดูหนังการ์ตูนเรื่องเดิมๆ มีกิจกรรมเดิมซ้ำๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ลำบาก เช่น ฟังเพลงเดิมๆ ดูการ์ตูนเรื่องเดิม ติดของบางอย่างมากเกินไป
    
การวินิจฉัยทางการแพทย์
เมื่อพ่อแม่และคนในครอบครัวพบว่า เด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ไม่สามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารได้ จึงนำเด็กไปพบแพทย์ แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ และต้องอาศัยเวลาในการติดตามโรคพอสมควร เพื่อดูว่าเด็กมีลักษณะอาการของออทิสติกหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน เพราะโรคออทิสติกเป็นปัญหาทางพฤติกรรม จึงต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กระยะหนึ่ง และพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อดูว่าลักษณะที่เป็นนั้น เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือจากตัวเด็ก

การรักษาโรคออทิสติก
กลุ่มโรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง และให้เด็กมีภาวะที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี พ่อแม่และคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กมาก แพทย์จะให้พ่อแม่ของเด็กเป็นผู้ร่วมรักษาด้วย และแนะนำให้พ่อแม่กลับไปสอนหรือปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้านได้ด้วยตัวเอง และนำเด็กกลับมาประเมินผล รวมทั้งรับคำแนะนำใหม่กลับไปปฏิบัติ ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการออทิสติกโดยตรง แต่เด็กบางคนแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น    

 สรุป
โรคออทิสติก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่เด็กอาจจะโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 3 ที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และมีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่ม 1 - 2% ของผู้ป่วยโรคนี้ ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เด็กมีระดับไอคิวมากกว่า 70 หรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วม เด็กสามารถพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี และไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก เป็นต้น

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เด็กได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น

การสะท้อนตนเอง
 - ทำให้เรารู้พฤติกรรมของเด็กออทิสติกมากขึ้น ทำให้เราได้รู้เเนวทางในการรับมือ และแนวทางในการดูเเลช่วยเหลือเด็กที่เป็นออทิสติก อนาคตข้างหน้าถ้าเราได้เจอกับเด็กที่เป็นโรคออทิสติกเราจะได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปปรับใช้และช่วยเหลือเด็กได้ถูกวิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น